About

โครงการทักษะการสร้างผลงานสื่อด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง

ความร่วมมือ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

ที่มาของโครงการ

ด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการทักษะการสร้างผลงานสื่อด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อพัฒนา สื่อเสมือนจริงด้วย AR VR เพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ให้กับกลุ่ม Mid-Career ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างอาชีพอิสระ ต่อยอดการประกอบธุรกิจของตนเองและพัฒนาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจอุปโภคบริโภค การแพทย์ การศึกษา สื่อการเรียนการสอน เพื่อก่อให้เกิดรายได้เสริมให้กับผู้เรียน ตลอดจนปรับตัวเพื่อ Upskill/Reskill รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการเตรียมความพร้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมสูงวัยอย่างมีศักยภาพ (Active Aging)

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างผลงานสื่อด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงด้าน VR AR
  • สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด เผยแพร่ ประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน และถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อต่อยอดการประกอบธุรกิจของตนเอง หรือสร้างรายได้ สร้างอาชีพผู้เรียนในกลุ่ม Mid-Career
  • เพื่อพัฒนาสินค้าและหรือบริการต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจอุปโภคบริโภค การแพทย์ การศึกษา สื่อการเรียนการสอน พัฒนาเป็นทักษะที่สร้างรายได้เสริม (Second-Career) หรือ สร้างอาชีพอิสระให้กับผู้เรียนในกลุ่ม Mid-Career
  • เพื่อ Upskill/Reskill รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการเตรียมความพร้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมสูงวัยอย่างมีศักยภาพ (Active Aging)

กลุ่มเป้าหมาย

บุคคลทั่วไปที่สนใจในกลุ่ม Mid-Career ไม่น้อยกว่า 350 ราย

คุณสมบัติผู้อบรม

  • บุคคลทั่วไปที่สนใจในกลุ่ม Mid-Career ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  • บุคคลทั่วไปที่สนใจและเปิดใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ ทักษะใหม่ ๆ เพื่อ Upskill/Reskill รองรับการเปลี่ยนแปลงของสื่อด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงด้าน VR AR
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ

กิจกรรมการอบรม

หลักสูตรการพัฒนาสื่อเสมือนจริงด้วย AR VR เพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างสร้างสรรค์

  • รับสมัครกลุ่ม Mid-Career 350 รายทั่วประเทศ
  • อบรม รูปแบบ Online ผ่านระบบ Virtual Classroom
  • ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน (12 ชั่วโมง)
shape

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ


บุคคลทั่วไปในกลุ่ม Mid-Career อายุ 35 ปีขึ้นไป

มีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมสูงวัย

เปิดใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ ทักษะใหม่ ๆ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ
customers

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ

เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับอบรม
(เฉพาะรูปแบบ Onsite)

เอกสารประกอบการฝึกอบรม

บัญชีผู้ใช้สำหรับเข้าถึงระบบเรียนรู้ออนไลน์ (E-LEARNING ACCOUNT)

ประกาศนียบัตร (DIGITAL CERTIFICATE)

shape

เปิดรับสมัคร! บุคคลทั่วไปในกลุ่ม Mid-Career

(จำกัดเพียง 350 ท่าน)

ตารางอบรม

รุ่น วันที่อบรม จังหวัด สถานที่
1 17-18 มิถุนายน 2567 กรุงเทพฯ บริษัท เออาร์ไอที จำกัด
2 24-25 มิถุนายน 2567 ศรีสะเกษ ณ ห้องประชุมราชมรรคา ชั้น 2 อาคารศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
3 22-23 กรกฎาคม 2567 ออนไลน์
4 1-2 สิงหาคม 2567 ออนไลน์
5 14-15 สิงหาคม 2567 ออนไลน์
6 20-21 สิงหาคม 2567 เพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
7 5-6 กันยายน 2567 ออนไลน์
8 11-12 กันยายน 2567 สกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

กิจกรรมภายใต้โครงการ

กิจกรรมที่ 1
การรับสมัครเข้าร่วมโครงการ

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ และทำข้อสอบ Screen Test ผ่านเว็บไซต์โครงการ
  • โครงการฯ คัดเลือกบุคคลทั่วไปที่ผ่านคุณสมบัติตามเงื่อนไข
  • โครงการฯ ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกผ่านเว็บไซต์โครงการ
  • ฝ่ายประสานงานส่งอีเมลแจ้งผลการคัดเลือก พร้อมโทรประสานไปยังผู้ที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรมที่ 2
กิจกรรมฝึกอบรม รูปแบบ Online

  • รูปแบบ Online Training (รุ่นละ 50 ราย)

กิจกรรมที่ 3
กิจกรรมการส่งผลงาน

  • ภายใน 30 วันหลังจบการอบรมแต่ละรุ่น
    ผู้เข้ารับการฝึกอบรม นำส่งผลงานด้าน
    AR VR ผ่านเว็บไซต์โครงการ

รางวัลพิเศษ

โครงการประกาศรายชื่อผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 5 ท่าน จะได้รับเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ​

โปรแกรมที่ใช้ในการฝึกอบรม

blog

Spark AR

blog

VRoid Studio

blog

OBS Studio

blog

Vseeface

กำหนกการฝึกอบรม

การอบรม วันที่ 1

เทคโนโลยีเสมือน (Reality Technology) เทคโนโลยี XR (Extended Reality) กับธุรกิจยุคใหม่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ AR และ แนวทางการประยุกต์ใช้
  • แนะนำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR)
  • รูปแบบการใช้งาน AR ในธุรกิจ
  • หลักการทำงานของเทคโนโลยี Augmented Reality แนะนำโปรแกรม Meta Spark Studio ของ Facebook
  • การใช้งานโปรแกรม Meta Spark Studio
  • รู้จักกับโปรแกรม Meta Spark Studio
  • การใช้งานและคุณลักษณะของโปรแกรม Meta Spark Studio
  • จุดเด่นของโปรแกรม Meta Spark Studio
  • การประยุกต์ใช้งานจากโปรแกรม Meta Spark Studio
การทํางานบนโปรแกรม Meta Spark Studio
  • การติดตั้งโปรแกรม Meta Spark Studio
  • รู้จักหน้าต่างการทํางานและส่วนประกอบของโปรแกรม
  • การจัดวางวัตถุ 3 มิติ โดยใช้ Viewport
  • การจำลองการแสดงผลบนอุปกรณ์มือถือ
  • การใช้เครื่องมือ Manipulators เพื่อปรับตำแหน่ง มาตราส่วน และการหมุนของวัตถุใน Viewport
คุณสมบัติของโปรแกรม (Meta Spark Studio Features)
  • การเตรียม Assets และ Objects
  • การสร้างวัสดุ พื้นผิว และวัตถุ 3D และ 2D
  • การใช้งาน AR Library
การเตรียมโมเดล 3 มิติ เสียง คลิปวิดีโอ รูปภาพ และภาพกราฟิก จากเว็บไซต์
  • Workshop 1: การพัฒนารูปแบบ AR Affect กับใบหน้า (Face Mask และ Face Decoration)
  • Workshop 2: การพัฒนารูปแบบ AR Affect กับใบหน้า (Head Decoration)
การใช้งาน AR บน Social Media
  • การสร้างและจัดการโปรเจกต์
  • การใช้งาน วัตถุ 3 มิติ และแอนิเมชัน
  • การใช้งาน 2D Effects
  • การเพิ่มและแก้ไขข้อความ 2 มิติ และ 3 มิติ
  • การจัดการแสง (Lighting)
  • การใช้งาน วัตถุ 3 มิติ และแอนิเมชัน
  • การจัดการเสียง (Audio)
  • การ Exporting และ Publishing เอฟเฟกต์
การใช้งานโปรแกรม Meta Spark Studio ของ Facebook
  • การใช้งานโปรแกรมสร้างคอนเทนต์ AR และ Effect AR โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม
  • รู้จักโปรแกรม Meta Spark Studio แนะนำส่วนประกอบของโปรแกรม และเครื่องมือ
  • การ Publish ไฟล์ โดยการ Upload ไปยัง Facebook หรือ Instagram พร้อมทดสอบการใช้งาน
  • Workshop 3: การพัฒนารูปแบบ AR Affect กับพื้นที่ จริง (World Object)
การออกแบบและพัฒนาคอนเทนต์เทคโนโลยีเสมือนจริง ด้วย Meta Spark Studio
  • การพัฒนารูปแบบ Target Tracking
  • การ Publish ไฟล์ โดยการ Upload ไปยัง Facebook หรือ Instagram พร้อมทดสอบการใช้งาน
  • Workshop 4: การพัฒนารูปแบบ AR Affect รูปแบบ 3D Animated Poster
  • Workshop 5: การพัฒนารูปแบบ AR Affect รูปแบบ Image Target Tracking
  • Workshop 6: การพัฒนารูปแบบ AR Affect รูปแบบ Multi Image Target Tracking

การอบรม วันที่ 2

การออกแบบและพัฒนาคอนเทนต์เทคโนโลยีเสมือนจริง ด้วย Meta Spark Studio (ต่อ)
  • การพัฒนารูปแบบ Multiple Target Tracking
  • การ Publish ไฟล์ โดยการ Upload ไปยัง Facebook หรือ Instagram พร้อมทดสอบการใช้
  • Workshop 7: การพัฒนารูปแบบ AR Affect รูปแบบ Multi Image Target Tracking
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ VR และ แนวทางการประยุกต์ใช้
  • แนะนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR)
  • รูปแบบการใช้งาน VR ในธุรกิจปัจจุบัน
  • หลักการทำงานของเทคโนโลยี Virtual Reality
  • แนวโน้มการตลาด VR กับสตาร์ทอัพไทย
การสร้างวีดีโอคอนเทนต์
  • การออกแบบคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มวีดีโอออนไลน์
  • รู้จัก Vtuber Platform
การใช้งานโปรแกรม VRoid studio
  • การติดตั้งโปรแกรม VRoid studio
  • การออกแบบตัวละคร (Avatar)
  • การนำโมเดลมาใช้สร้างตัวละคร (Avatar)
  • การติดตั้งแอปพลิเคชัน VRoid studio บนมือถือ
  • การใช้งาน VRoid Hub
การใช้งานโปรแกรม OBS ในการบันทึกวีดีโอ และการสตรีมวีดีโอ
  • Workshop 8: เปลี่ยนตัวเองให้เป็น Vtuber
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ MR และ แนวทางการประยุกต์ใช้
  • แนะนำเทคโนโลยี Mixed Reality (MR)
  • เทคโนโลยี MR เครื่องมือใหม่ในธุรกิจ
  • หลักการทำงานของเทคโนโลยี Mixed Reality